สาขาวิชาสะเต็มศึกษา หรือ STEM Education

STEM Education สาขาวิชามาแรงในการไปเรียนต่ออังกฤษ

STEM หรือ STEM Education อีกหนึ่งสาขาวิชามาแรงในการไปเรียนต่อในประเทศอังกฤษ ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นเคย หรือไม่รู้ว่าเป็นการเรียนเกี่ยวกับอะไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ และพาทุกคนไปทำความความรู้จักกับสาขาวิชานี้ ที่ว่ากันว่าเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานไม่น้อยเลยทีเดียว

คำว่า STEM นั้น ย่อมาจาก Science Technology Engineering and Mathematics ถูกใช้ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า STEM ไม่ได้มีนิยามตายตัว ทำให้ถูกนำไปใช้ในหลากหลายบริบท อาทิเช่น ใช้อ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นต้น

ทางด้านของสาขาวิชาสะเต็มศึกษา หรือ STEM Education ที่เริ่มมีการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัยอังกฤษนั้น จะเป็นการศึกษาในรูปแบบของการบูรณาการ โดยเอาทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มาทำการเชื่อมโยงและใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ และพัฒนากระบวนการใหม่ ๆ นวัตรกรรมใหม่ ๆ เป็นการต่อยอดหลักสูตรที่มีอยู่เดิม ให้สามารถนำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

อ้างอิงจาก สสวท. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM จะมีลักษณะ 5 ประการ คือ

  • เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการเป็นหลัก
  • ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ
  • เน้นการพัฒนาทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21
  • ท้าทายความคิดของผู้เรียน
  • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ เนื้อหาทั้ง 4 วิชา

สาขาวิชาสะเต็มศึกษา หรือ STEM Education

จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (Stem Education) คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยการศึกษาในสาขานี้ นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ที่เป็น key skills วึ่งได้แก่

  • ทักษะการแก้ปัญหา (problem solving)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (creativity)
  • การคิดวิเคราะห์ (critical analysis)
  • การทำงานเป็นทีม (teamwork)
  • การคิดอย่างอิสระ (independent thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (initiative)
  • ทักษะการสื่อสาร (communication)
  • ทักษะด้านดิจิทัล (digital literacy)

อย่างไรก็ตาม แม้หลาย ๆ มหาวิทยาลัยอาจจะยังไม่มีหลักสูตร STEM โดยตรง แต่หลักสูตรในสาขา Science, Technology, Engineering หรือ Mathematics ส่วนใหญ่ ก็ถือเป็นหลักสูตรที่เข้าข่ายของการเป็น STEM subject เช่นเดียวกัน หากมีการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการครอบคลุมมากกว่าหนึ่งสาขา ยกตัวอย่างหลักสูตรปริญญาโท เช่น MSc in Computer Science หรือ MSc in Engineering, MSc in Mathematics ที่ต้องเรียนศาสตร์ทั้งสี่สาขา เป็นต้น

อย่างที่บอกไปว่า สาขาวิชานี้ถือว่ามาแรงเป็นอย่างมากในแวดวงการศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ แต่ก็ยังมีคนที่สมัครเรียนและจบด้านนี้โดยตรงน้อยมาก ทำให้ความต้องการบัณฑิตทางด้านนี้ยังสูงมาก ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมากจาก การเรียนที่เข้มข้น และเน้นด้านวิจัย และหลายคนอาจมีความเข้าใจอย่างผิวเผินต่อสาขาวิชานี้ แต่จริงๆ แล้ว STEM ถือว่ามีอิมแพคมากพอสมควรต่อระบบการศึกษาและสังคม

โดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรป เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า นี่เป็นการศึกษาแบบต่อยอดที่มีจุดมุ่งหมายคือ การผลักดันและอัพสปีดการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน วึ่งนอกจากนี้ สะเต็มศึกษา ยังถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึง ผู้หญิง กลุ่มคนชายขอบ และนักศึกษาที่ไม่เคยสนใจรายวิชาใน STEM มาก่อน ให้หันมาสนใจศึกษาเรียนรู้ในด้านนี้ให้มากขึ้น

ในด้านการจ้างงาน ผู้เรียนที่มีทักษะด้าน STEM ถือว่าได้เปรียบกว่าคนทั่วไป ซึ่งบริษัทใหญ่ ๆ ในสหราชอาณาจักร 9 ใน 10 แห่ง มีความต้องการจ้างบัณฑิตที่จบในสาขา STEM เนื่องมาจากทักษะต่าง ๆ อาทิ การคำนวณ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายหน่วยงานและหลายสาขา ทำให้มีตำแหน่งงานที่เปิดรับผู้ที่จบในด้านนี้กว่า 140,000 ตำแหน่ง ส่วนในสหรัฐอเมริกา มีการคาดการณ์ว่าจะมีตำแหน่งงานที่รับผู้ที่จบสาขาสะเต็มศึกษา ระหว่างปี 2010 ถึง 2020 ถึง 2 ล้านตำแหน่งเลยทีเดียว

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ mirrorofjustice.net

Releated